HUMANITY
BEYOND
BORDERS
[For English please scroll down]
องค์กรสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน (Humanity Beyond Borders) เป็นองค์กรที่ริเริ่มโดยนิสิตนักศึกษา เช่น
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (รัฐศาสตร์) สิรินทร์ มุ่งเจริญ (อักษรศาสตร์) และณัฐนันท์ ทองเกื้อสกุล (ครุศาสตร์)
จากการเล็งเห็นความทุกข์ ความวิตกกังวล ความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และสภาพการใช้ชีวิตที่ต่ำกว่ามาตรฐานความเป็นมนุษย์ของผู้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศไทย
ปัจจุบัน ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยหลายคนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากรัฐบาลทหาร พวกเขาไม่ได้รับการเอาใจใส่และไม่ได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยจากรัฐบาล
ผู้ลี้ภัยในไทยจำนวนมากถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศที่พวกเขาลี้ภัยทางการเมืองออกมา โดยไม่มีใครยืนยันได้ว่าผู้ลี้ภัยที่ถูกส่งตัวกลับจะต้องเผชิญกับอะไร และปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
เราในฐานะของนิสิตนักศึกษาที่ได้เรียนรู้สิทธิมนุษยชนและความเป็นพลเมือง เราตระหนักในคุณค่าของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย และเพื่อการบรรลุให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยและเป็นสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชนของกันและกัน เราจะต้องร่วมกันเรียนรู้สิทธิมนุษยชนของคนอื่น ๆ ในสังคม ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก กรรมกร หรือคนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในสังคม รวมถึงเพื่อนผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
องค์กรสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดนมุ่งหวังจะระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยทางการเมืองในไทย จัดกิจกรรมและทำผลงานเชิงวิชาการเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศต่าง ๆ เช่น ชาวอุยกูร์ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยในประเทศจีน และทำกิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านอำนาจอยุติธรรมระหว่างประเทศ
-
เราจะจัดกิจกรรมสิทธิมนุษยชนในประเด็นใด
ในระยะเริ่มต้น องค์กรสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดนจะจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์อุยกูร์ (Uyghurs) เป็นหลัก ชาวอุยกูร์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลซินเจียงของประเทศจีน มีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของตัวเองมาเป็นเวลาหลายพันปี ทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม
แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีนโยบายเพิ่มความเข้มข้นของการดูดกลืนชาติพันธุ์อื่นให้มีความเป็นจีนฮั่น ทำทุกวิถีทางให้อุยกูร์ละทิ้งวัฒนธรรมและภาษาเดิมของตน และเปลี่ยนมาใช้วัฒนธรรมและภาษาจีน นอกจากนั้น รัฐบาลจีนยังส่งชาวฮั่นนับล้านคนเข้ามาพักอาศัยกับคนอุยกูร์เพื่อสอดส่องวิถีชีวิตของพวกเขา หากคนอุยกูร์คนใดมีพฤติกรรมที่ฝักใฝ่ศาสนาอิสลาม หรือสวดมนต์ตามศาสนาก็จะถูกรายงานไปยังรัฐบาล และสุดท้ายพวกเขาก็ถูกส่งไปอยู่ในค่ายกักกันเพื่อ "ปรับการศึกษาใหม่"
ปัจจุบันมีรายงานระบุว่า มีคนอุยกูร์มากกว่า 1 ล้านคนอยู่ในค่ายกักกันนี้ ทั้งคนที่เป็นนักวิชาการ ปัญญาชน นักแสดง คนมีชื่อเสียงในสังคม และประชาชนคนธรรมดา การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลจีนถูกกล่าวหาว่าเป็น "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" และทางรัฐสภายุโรปได้มีมติประณามการกระทำของรัฐบาลจีนไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยความรับรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ยังจำกัดมาก (รวมถึงความเห็นและทัศนคติต่อผู้ลี้ภัยโดยทั่วไปด้วย) ทั้งที่ประเทศไทยมีความใกล้ชิดกับจีน มีความสัมพันธ์กับจีนเป็นระยะเวลานาน แต่กลับไม่มีมาตรการหรือนโยบายใด ๆ ที่รัฐบาลไทยจะสนใจหรือให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนของพวกเขาเลย
ดังนั้น องค์กรของเราจึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นว่า เราต้องรณรงค์ จัดนิทรรศการ จัดประกวดงานศิลปะ หรือสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานเชิงนิทาน หรือกิจกรรมอื่นใดที่สะท้อนปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ เพื่อให้ประเด็นดังกล่าวเป็นที่รับรู้ต่อคนไทยมากขึ้น
-
ผู้ลี้ภัยที่เราจะช่วยเหลือเป็นใคร
บุญ (นามสมมติ) เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิและเสรีภาพชาวลาว เขาเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยหลายปีแล้ว และจากการไขว่คว้าหาความรู้ทำให้เขาได้งานที่มั่นคงและสามารถมีเงินเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 2557 ขึ้น บุญซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวและผู้ก่อตั้งองค์กรเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวลาวในประเทศไทยก็ประสบกับความยากลำบาก ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายว่าด้วยการรับบุคคลเข้าทำงาน ทำให้เขาจำเป็นต้องกลับไปต่อใบอนุญาตทำงาน (work permit) ในประเทศลาว
ทว่าในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อนในกลุ่มของเขาสามคน (ผู้ชาย 2 คนและผู้หญิง 1 คน) ถูกรัฐบาลลาวจับกุมตัวด้วยข้อหามากถึง 3 ข้อหา ได้แก่ กบฎต่อสาธารณรัฐ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลลาว และการสร้างความแตกแยกในสังคม เพื่อนของเขาทั้งสามคนนี้ปัจจุบันยังคงถูกจำคุกด้วยโทษมากถึง 20, 16, และ 12 ปี ทำให้บุญซึ่งเป็นแกนนำคนสำคัญในไทยไม่สามารถกลับไปยังประเทศได้ เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะถูกจับกุมและถูกตั้งข้อกล่าวหา
ปัจจุบัน บุญต้องใช้ชีวิตหลบ ๆ ซ่อน ๆ ในไทย แม้ว่าเขาได้รับการยืนยันสถานะความเป็นผู้ลี้ภัยจากองค์กรข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แล้ว แต่ความสนิทสนมระหว่างรัฐบาลลาวกับรัฐบาลทหารของไทย ข่าวนักเคลื่อนไหวชาวลาวและชาวไทยถูกฆาตกรรมอย่างมีเงื่อนงำและน่าเคลือบแคลงสงสัยก็ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง และเนื่องจากบุญไม่สามารถเดินทางกลับประเทศ ทำให้ใบอนุญาตทำงานของเขาหมดอายุ ไม่สามารถสมัครงานที่ใด ๆ ในไทยได้ บุญตกงาน ไม่มีรายได้ เขาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ไม่มีความแน่นอนในชีวิต
บุญจึงต้องการเดินทางไปประเทศที่สาม เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อให้เขาได้ทำงานและใช้ชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทางองค์กรของเราต้องการสนับสนุนให้เขาได้เดินทาง เราจะช่วยติดต่อ ประสานงาน และดำเนินการเพื่อให้เขาได้ไปประเทศที่สาม
Humanity Beyond Borders was founded by students such as Netiwit Chotiphatphaisal (Political Science) Sirin Moongjarern (Literature) and Nattanan Thongkuasakul (Education), from observing the difficulty, anxiety, instability and danger to both the physical and financial well-being, living conditions that are lower than human standards, that is suffered by political refugees in Thailand.
In the present, many refugees in Thailand have had their rights violated by the military junta. The junta as afforded them neither care nor protection, many are sent back to countries that have escaped political persecution from, where no one can verify what they face, nor, if those sent back are currently alive.
As students who have learned and studied about human rights and citizenship, we understand the value of human rights and democracy. For Thailand to achieve democracy and become a society that respects the human rights of one another, we must learn about the human rights of others, adults, children, labourers or different minority groups in our society, this includes our refugees refugee friends.
Humanity Beyond Borders aims to raise funds in order to help refugees in Thailand organize activities and produce academic works to encourage knowledge and understanding of the problem of human rights violations that are inflicted upon different ethnic groups in a number of countries, for example, The Uyghur ethnic-minority residing in China. The funds will also be used to arrange activities that will promote a culture of resistance against international injustices.
-
What Issues will our activities revolve around?
-
What Issues will our activities revolve around?
Humanity Beyond Borders will begin organizing activities that seeks to educate and create an understanding on the topic of human rights, focusing on the Uyghur people. The Uyghur people are an ethnic group residing primarily in the province of Xinjiang, China. They have a unique and distinct language, culture and identity that can be traced back thousands of years.
In the past decade, the government of China has ramped up efforts to absorb different ethnic groups into the Han Chinese majority. The government has done everything in their power to try to get the Uyghur people to abandon their culture and language and adopt the culture and language of the Han majority. The Chinese Government has also sent millions of Han Chinese people to Xinjiang in order to monitor the lives of the Uyghur, if an Uyghur person exhibits behaviors that is considered devotion to Islam, such as praying, they would be reported to authorities, from there, they will likely end up in a ‘reeducation camp’.
Currently, it is estimated that more than 1 million Uyghurs are being held in these ‘reeducation camps’. Scholars, intellectuals, celebrities and average citizens alike have been imprisoned in these camps. The imprisonment of Uyghurs has been called a crime against humanity and the Chinese government has been publicly condemned by the European Union.
However, within Thailand, the knowledge, understanding and awareness of atrocities facing the Uyghur people is extremely limited (along with attitudes against refugees in general) despite the long and close relationship between Thailand and China, no measure or policy has been presented by the Thai government, showing a lack of care and interest in human rights.
As such, our organization has recognized the importance and the need for activism, to set up exhibitions, organize art contests, promote creative storytelling and any other activities that reflect on the human rights problem facing the Uyghur, so that more Thai people can become aware of these issues.
-
Who is the Laotian we are helping?
‘Boon’ (assumed name) is human rights and freedom activist for Laotians. He has worked in Thailand legally for many years. From his determination, he managed to secure a stable career and an income that allows him to take care of himself and his family.
When the 2014 Coup d’état happened, ‘Boon’, who is an activist and the founder of an organization for political activism for Laotians in Thailand, faced sever hardships. The events of 2014 along with changes in immigration laws meant he would have to go back to Laos in order to extend his work permit.
Around the same time, 3 of his friends (2 men and 1 woman) were apprehended by The Laotian Government, charging them for treason, criticism of the government and creating social divide. His friends are currently serving sentences of 20, 16 and 12 years, making ‘Boon’, who is an important leader in the movement, unable to travel back to his country because of the high probability of being arrested and charged.
Presently, Boon is unable to live in Thailand openly, even though he has been given a refugee status by the UNHCR. The close relationship of The Laotian Government and the Thai Junta, news of suspicious deaths of Lao and Thai activists and ‘Boon’s’ inability to travel back to his country in order to extend his work permit leading to his unemployment means ‘Boon’ has had to live a difficult and insecure life. In order to find work and live a dignified life, ‘Boon’ must travel to another country, such as, Canada, Australia and New Zealand. Our organization seeks to support him in his journey to a safe destination, we will help with the process of contacting, coordinating and proceeding the case.